ไช่ หลุน
ไช่ หลุน

ไช่ หลุน

ไช่ หลุน (จีนตัวย่อ: 蔡伦; จีนตัวเต็ม: 蔡倫; พินอิน: Cài Lún; เวด-ไจลส์: Ts'ai Lun; ราว ค.ศ. 50 ถึง ค.ศ. 121) หรือชื่อรองว่า จิ้งจ้ง (Jìngzhòng 敬仲 ?) เป็นขันทีชาวจีนซึ่งถือกันว่า คิดค้นกระดาษและวิธีผลิตกระดาษชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอันต่างจากกระดาษพาไพรัสของอียิปต์ แม้ในประเทศจีนมีกระดาษหลายรูปแบบมาตั้งแต่ 200 ปีก่อน ค.ศ. แล้ว แต่ไช่ หลุน ได้พัฒนาและสร้างมาตรฐานอันโดดเด่นให้แก่กระบวนการผลิตกระดาษเป็นครั้งแรก โดยเพิ่มวัสดุใหม่เข้าไปในองค์ประกอบกระดาษ[1][2]สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ไช่ หลุน กำเนิดที่เทศมณฑลกุ้ยหยาง (桂陽郡 Guìyáng Jùn ?) ซึ่งปัจจุบันคือเทศมณฑลเหล่ย์หยาง มณฑลหูหนาน แล้วเข้าเป็นขันทีราชสำนักตั้งแต่ ค.ศ. 75 และได้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อยมา ครั้น ค.ศ. 89 ได้รับตำแหน่งช่างฟางหลิง (尚方令 Shàngfāng Lìng ?) รับผิดชอบผลิตศัสตราวุธยุทโธปกรณ์ พร้อมกับตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍 Zhōngcháng Shì ?) หรือข้าเฝ้าประจำ[3] ไช่ หลุน จึงได้ข้องเกี่ยวกับความขัดแย้งในราชสำนักหลายประการ เช่น พระนางโต้ว (竇 Dòu ?) พระอัครมเหสีพระเจ้าจาง (章 Zhāng ?) กับนางซ่ง (宋 Sòng ?) พระสนมของพระเจ้าจาง ชิงตำแหน่งรัชทายาทให้แก่โอรสของตน ไช่ หลุน ได้เป็นประธานกรรมการสอบสวนสนมซ่ง แต่สนมซ่งเสวยยาพิษตายระหว่างสอบสวน เป็นเหตุให้โอรสบุญธรรมของพระนางโต้วได้เป็นรัชทายาท และภายหลังได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าเหอ (和  ?)[4] ครั้นพระนางโต้วสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 97 ไช่ หลุน ได้เป็นขันทีประจำองค์พระนางเติ้ง ซุย (鄧綏 Dèng Suī ?) พระอัครมเหสีของพระเจ้าเหอใน ค.ศ. 105 ไช่ หลุน คิดค้นองค์ประกอบของกระดาษและวิธีผลิตกระดาษอย่างใหม่ แต่บางคนเห็นว่า ความจริงแล้วเป็นผลงานของบุคคลคนหนึ่งซึ่งวรรณะต่ำกว่าไช่ หลุน[5] บันทึกไว้ว่า ไช่ หลุน ให้แช่เปลือกไม้ที่อัดกันเป็นแผ่นแล้วลงในน้ำจนน้ำแห้ง แล้วทิ้งให้แผ่นเปลือกไม้นั้นแห้งเป็นแผ่นกระดาษเรียบบาง วิธีและอุปกรณ์ผลิตกระดาษในปัจจุบันซับซ้อนกว่าเดิมมาก แต่ยังคงใช้กลวิธีอย่างนี้อยู่เป็นหลัก[6] ด้วยผลงานนี้ ไช่ หลุน จึงได้รับยกย่องตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่มาตลอดจนเมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว จดหมายเหตุจีนระบุว่า[3]"แต่เดิมมักเขียนและจารึกอักษรลงบนซีกไผ่หรือแพรไหม...แต่ผ้าไหมราคาสูง ส่วนซีกไผ่ก็น้ำหนักมาก ใช้ไม่ใคร่สะดวก ไช่ หลุน จึงคิดผลิตกระดาษจากเปลือกไม้ เศษปอ เศษผ้า และเศษอวน เขาทูลเสนอผลงานต่อพระเจ้าแผ่นดินในปีแรกแห่งรัชกาลเซี่ยวเหอ พระองค์ตรัสชมสติปัญญาเขาอย่างยิ่ง นับแต่นั้น ทุกแห่งทุกหนคนจึงใช้กระดาษ และเรียกกระดาษว่า 'กระดาษท่านไช่'"แม้ข้างต้นปรากฏว่า วัสดุผลิตกระดาษมีเปลือกไม้ ปอ ผ้า และอวน แต่สูตรผลิตกระดาษที่แท้จริงของไช่ หลุน นั้นสูญหายไปสิ้นแล้ว พระเจ้าเหอโปรดผลงานของไช่ หลุน อย่างยิ่ง จึงประทานลาภยศสรรเสริญหลายประการให้แก่ไช่ หลุนใน ค.ศ. 121 พระนางเติ้ง ซุย สิ้นพระชนม์ และนัดดาของสนมซ่งได้เถลิงราชสมบัติเป็นพระเจ้าอัน (安 Ān ?) รับสั่งให้ไช่ หลุน ไปรายงานตัวที่กรมราชทัณฑ์ แต่ไช่ หลุน ชำระร่างกายและแต่งองค์ทรงเครื่องด้วยอาภรณ์แพรไหมอย่างดี แล้วรับประทานยาพิษปลิดชีพตนเอง ไม่ไปกรมราชทัณฑ์[7]ในสมัยหลัง ผู้คนนับถือบูชาไช่ หลุน ในฐานะบรรพบุรุษของชาติ เฟย์ จู่ (非主 Fēi Zhǔ ?) นักวิชาการปลายราชวงศ์ซ่ง บันทึกว่า มีการสร้างวัดแห่งหนึ่งอุทิศแก่ไช่ หลุน ที่นครเฉิงตู ตระกูลผู้ผลิตกระดาษหลายร้อยตระกูลในภาคใต้มักเดินทางกว่าแปดกิโลเมตรขึ้นไปกราบไหว้ไช่ หลุน ที่วัดดังกล่าว[8]กระดาษของไช่ หลุน นั้นนิยมใช้เป็นสื่อการเขียนอย่างกว้างขวางทั่วประเทศจีนภายในคริสต์ศตวรรษที่ 3[6] และทำให้ประเทศจีนพัฒนาอารยธรรมหลายประการได้รวดเร็วอย่างยิ่ง เมื่อไช่ หลุน ตายแล้ว วิธีผลิตกระดาษของเขาได้แพร่หลายไปถึงเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7[9] ครั้น ค.ศ. 751 กองทัพราชวงศ์ถังปราชัยแก่กองทัพอาหรับในยุทธการแม่น้ำต้าหลัวซื่อ (Battle of Talas River) และช่างผลิตกระดาษชาวจีนจำนวนหนึ่งถูกชนอาหรับจับกุมไว้ได้ การผลิตกระดาษจึงไปสู่ซีกโลกตะวันตก โดยเข้าสู่ยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 ส่งผลให้เกิดการปฏิวัติวิธีสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างต่อเนื่อง และเนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างชาวอาหรับและยุโรปในช่วงสงครามครูเสด กระดาษอย่างจีนจึงได้รับความนิยมใช้กันแพร่หลายและช่วยส่งเสริมรากฐานของวิชาการในยุโรปต่อมา

ไช่ หลุน

เกิด ราว ค.ศ. 50
เทศมณฑลกุ้ยหยาง ประเทศจีน
เสียชีวิต ค.ศ. 121
ประเทศจีน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไช่ หลุน http://www.amazon.com/dp/0521086906 http://data.bibliotheken.nl/id/thes/p088380823 http://mak.bn.org.pl/cgi-bin/KHW/makwww.exe?BM=1&N... https://id.loc.gov/authorities/names/n82086389 https://d-nb.info/gnd/139284036 https://isni.org/isni/0000000078867350 https://viaf.org/viaf/72739502 https://www.wikidata.org/wiki/Q229235#identifiers https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Cai_Lu... https://tools.wmflabs.org/wikidata-externalid-url?...